สมาชิกเข้าสู่ระบบ
ชื่อผู้ใช้ :
รหัสผ่าน :
เข้าสู่ระบบสมัครสมาชิก
คำถามที่พบบ่อย
  Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A Q&A


Q : ต้องทิ้งพระไว้ไหม?
A : การเลี่ยมพระให้เนี๊ยบและสมกับองค์พระถ้าจะให้ดีต้องทิ้งพระไว้ที่ช่างค่ะ

แต่ในหลาย ๆ กรณี เจ้าของพระไม่ต้องการให้พระอยู่ห่างตัว จึงมักถามว่า
"เลี่ยมพระนี่... ไม่ต้องทิ้งพระไว้ได้ไหม?"
คำตอบก็คือ... มีทั้ง "ได้" และ "ไม่ได้" อยู่ที่รูปแบบของการเลี่ยมค่ะ

@@ เลี่ยมผ่าหวาย กระเช้า สาแหรก @@


ต้องทิ้งพระไว้เท่านั้นค่ะ การเลี่ยมพิเศษแบบนี้หากไม่ทิ้งพระไว้ให้ช่างเลี่ยมวัด
ก็จะไม่สามารถขึ้นตัวเรือนให้พอดีกับองค์พระได้อย่างแน่นอน



@@ เลี่ยมตลับ @@


สบายมากค่ะ การเลี่ยมตลับนี่เป็นทางออกที่ดีมากสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการทิ้งพระไว้ที่ช่าง
ผู้ใช้สามารถวัดขนาดพระ แล้ววาดลงบนกระดาษ ให้ช่างเลี่ยมขึ้นตลับจากแบบวาดได้เลยค่ะ



@@ เลี่ยมกรอบอัดกันน้ำ @@


การเลี่ยมกรอบพระอัดกันน้ำ เป็นการเลี่ยมที่ต้องเน้นที่ขนาดและทรงขององค์พระมาก ๆ
หากเจ้าของพระสามารถฝากพระไว้ที่ช่างเลี่ยมได้ก็ไม่มีปัญหาค่ะ
แต่หากไม่ต้องการฝากพระไว้ ก็มีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ

วิธีแรก ให้ช่างเลี่ยมเปิดพิมพ์บล็อกเอาไว้ วิธีนี้ช่างเลี่ยมจะนำพระองค์จริงมาวัดขนาดพระรวมถึงความหนา
และเปิดแม่พิมพ์ไม้เอาไว้ ผู้สั่งเลี่ยมรอเปิดบล็อกประมาณ 30 นาที เสร็จแล้วสามารถนำพระกลับบ้านได้
ช่างเลี่ยมจะขึ้นกรอบโดยอิงจากแม่พิมพ์นั้น
เมื่อช่างเลี่ยมกรอบพระเสร็จ ผู้สั่งเลี่ยมค่อยก็นำพระมาให้ช่างอัดกันน้ำใส่กรอบอีกครั้ง
ซึ่งระยะเวลาอัดกันน้ำและใส่กรอบก็อยู่ที่ประมาณ 45 นาที ไปจนถึงชั่วโมงกว่า ๆ
แล้วแต่ขนาด รูปทรงพระ และฝีมือช่างค่ะ



วิธีที่สอง วัดขนาดพระ วาดใส่กระดาษเอาไว้
ซึ่งช่างจะขึ้นกรอบตามแบบที่วาด โดยเผื่อขนาดความกว้างและความหนาไว้เล็กน้อย
หลังจากนั้นเมื่อช่างเลี่ยมกรอบพระเสร็จ ผู้สั่งเลี่ยมก็นำพระมาอัดกันน้ำและใส่กรอบเหมือนวิธีแรก
แต่อาจใช้เวลานานกว่าสักเล็กน้อย เนื่องจากต้องรวมเวลาเปิดพิมพ์เข้าไปด้วยค่ะ
วิธีที่สองนี้ แม้กรอบพระที่ได้ขนาดและรูปทรงอาจไม่พอดิบพอดีเท่าการเปิดบล็อก
แต่ก็สะดวกในหลาย ๆ กรณี เช่น ไม่สามารถพกพระมาได้
หรือการสั่งเลี่ยมกรอบพระ กรณีที่ผู้สั่งเลี่ยมอยู่ไกลหรืออยู่ต่างจังหวัด
ก็สามารถวัดขนาดพระและแฟกซ์ส่งมาก่อนได้ค่ะ


วิธีการวัดขนาดพระ วาดลงกระดาษ :



ให้วาดพระโดยทาบพระลงกระดาษ 3 มุม คือ

1. ด้านหน้า : วาดตามทรงให้ชิดหรือใกล้เคียงองค์พระที่สุด
หากเป็นพระรูปลอย ให้คว่ำหน้าพระลง และวาดตาม จะได้ขนาดที่ใกล้เคียงที่สุด


2. ด้านข้าง : จับพระหันข้าง แล้วลากเส้นให้แนบองค์พระทั้งสองฝั่งหน้า-หลัง
เน้นจุดที่หนา(หรือ)นูนที่สุดขององค์พระ


3. ฐาน : หากเป็นพระมีฐาน ให้วางฐานพระบนกระดาษ และวาดเส้นตามรูปฐานพระ





Q : "ค่าซิ" คืออะไร?
A : สำหรับช่างทองทุกแขนง เมื่อเวลาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาแต่ละชิ้น
ทุก ๆ ขึ้นตอนตั้งแต่ต้นสายยันผลงานออกมา เช่น การหลอมทอง การรีดทอง
การเป่าไฟ เลื่อยลาย ตะไบแต่ง แม้แต่การพับหลังกรอบพระนั้น
ล้วนมีละอองทองที่สูญหายไปเสมอ ๆ

อธิบายอีกอย่างได้ว่า สมมติว่าเรามีทองดิบ 1 บาท ก่อนขึ้นตัวเรือน
เมื่อผ่านกรรมวิธีต่าง ๆ จนได้เป็นตัวเรือน 1 ชิ้น
เมื่อชั่งน้ำหนักตัวเรือนกับเศษทองที่เหลือรวมกันแล้ว
จะหนักไม่ถึง 1 บาท เท่ากับทองดิบเมื่อตอนตั้งต้นหรอกค่ะ



หากช่างทองคิดราคางานทองเฉพาะน้ำหนักผลผลิตเพียว ๆ แล้วล่ะก็...
"ขาดทุน" แน่นอนไม่มีอื่นเลยค่ะ
แล้วถ้าทำไปขาดทุนไป ช่างทองเลี้ยงชีพตนไม่ได้แน่นอน
ดังนั้นช่างทองตั้งแต่ยุคโบราณมาจนปัจจุบันนี้จึงต้องมี "ค่าซิ"
หรือ "ค่าชดเชยทองสูญ" ที่ขาดหายไปในกระบวนการผลิต นำมาคำนวณเป็นต้นทุนด้วยทุกครั้ง
บางแห่งเรียก "ค่าซิ" บ้างก็ "ค่าขาด" ล้วนสื่อความหมายเดียวกันค่ะ



ที่โต๊ะช่าง หากเป็นงานกรอบพระ คิดค่าซิที่ 15% ของน้ำหนักจริง
หากเป็นงานตัวเรือนอื่น ๆ หรืองานจิวเวอร์รี่ คิดค่าซิที่ 20% ของน้ำหนักจริง
เนื่องจากอย่างหลังสูญทองในการผลิตมากกว่าค่ะ
 
 
Online:  5
Visits:  16,777,220
Today:  1,440
PageView/Month:  107,302
Last Update:  13/1/2567





 
Online:  5
Visits:  16,777,220
Today:  1,440
PageView/Month:  107,302